...ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ดินแดนแห่งความรู้และความงดงาม สู่...หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การแสดงออกทางนาฏศิลป์...

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สาระสำคัญ

     นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะการละคร หรือ ฟ้อนรำของไทย ที่มีกำเนิดมายาวนานควบคู่กับการพัฒนาการของชนชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ซึ่งการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งนอกจากจะได้รับความบันเทิงและสุนทรียภาพแล้ว ยังได้รับความรู้เกี่ยวกับ ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตของผู้คน ที่สอดแทรกอยู่ในการแสดงชุดนั้น ๆ ด้วย

ประเภทของละครไทย

     ละครไทยสามารถแบ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ละครรำ ละครร้อง และละครพูด

     - ละครรำ เป็นละครประเภทท่ใช้ศิลปะในการร่ายรำดำเนินเรื่อง มีการขับร้องและเจรจา เป็นกลอนบทละคร ซึ่งละครรำเป็นแบบฉบับดั้งเดิมของไทย เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน โขน ฯ
     - ละครร้อง เป็นละครที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบรมวงศ์เธอกรมพะนราธิปประพันธ์พงษ์ทรงดัดแปลงมาจากการแสดงของชาวตะวันตก การแสดงใช้การร้องเป็นการดำเนินเรื่องและใช้กิริยาท่าทางอย่างสามัญชนประกอบการแสดงไม่ใช้ท่ารำ เรื่องนิยมแสดง ได้แก่ ตุ๊กตายอดรัก สาวเครือฟ้า เป็นต้น
     - ละครพูด พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำวิธีการแสดงละครพูดจากตะวันตกมาแสดงบนเวที มีการเปลี่ยนฉากตามเนื้อเรื่อง การแสดงใช้การพูดและแสดงท่าทางอย่างสามัญชนเรื่องที่แสดงมักเกี่ยวกับสามัญชนคนธรรมดาทั่วไป

สรุป

     ละคร คือ ศิลปะการแสดงที่นำเอาประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่องราวแล้วนำเสนอต่อผู้ชมโดยมีนักแสดงเป็นสื่อ ละครแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
     - ละครแนวเหมือนจริง คือ ละครซึ่งสะท้อนชีวิตจริงของมนุษย์
     - ละครไม่เหมือนจริง คือ ละครที่นำเสนอเรื่องราวที่แตกต่างไปจากชีวิตจริง เช่น โขน ละคร 
  
     ทั้งนี้ละครถูกสร้างสรรค์หรือเกิดขึ้นมานานแล้วนับตั้งแต่อดีต กล่าวคือละครไทยมีมาตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย ส่วนละครสากลมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์ กรีก โรมัน ในปัจจะบัน ละครมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะละครโทรทัศน์
    
     ดังนั้นการเลือกรับชมเราจะต้องมีวิจารณญาณเพื่อจะได้ชมละครที่ดีมีประโยชน์ได้สาระนอกเหนือไปจากได้ความบันเทิงเพียงอย่างเดียว